ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
สมาคมมัณฑนากรหัวใจฯ
Research by Thai Heart
Thai Heart Cardiology Channel
HAT Annual Report


การเอาสิ่งแปลกปลอมที่อุดกั้นออกจากทางเดินลมหายใจ

ผู้ใหญ่ (8 ปีขึ้นไป)

เด็กโต (1-8 ปี)

เด็กเล็ก (ไม่เกิน 1 ปี)

กรณีผู้สำลักยังรู้ตัว

1. ถามว่า “คุณ…สำลักหรือเปล่า พูดได้ไหม?” ให้ลงมือช่วยเมื่อเห็นว่าผู้สำลักพยายามพูด
ออกมาแต่ไม่มีเสียง

2. รัดกระตุกที่ท้องเหนือสะดือใต้ลิ้นปี่
(Heimlich maneuver) หรือรัดกระตุกที่หน้าอก
(chest thrust) ถ้าผู้สำลักตั้งครรภ์หรืออ้วน

3. ทำซ้ำจนได้ผลหรือจนหมดสติ

1. ถามว่า “คุณ…สำลักหรือเปล่า พูดได้ไหม?” ให้ลงมือช่วยเมื่อเห็นว่าผู้สำลักพยายามพูด
ออกมาแต่ไม่มีเสียง

2. รัดกระตุกที่ท้องเหนือสะดือใต้ลิ้นปี่
(Heimlich maneuver) หรือรัดกระตุกที่หน้าอก
(chest thrust) ถ้าผู้สำลักอ้วนมาก

3. ทำซ้ำจนได้ผลหรือจนหมดสติ

1. ตรวจดูอาการทางเดินหายใจถูกอุดกั้น ได้แก่หายใจ
ลำบาก ไอไม่ออก ร้องไม่มีเสียง

2. จับคว่ำตบหลัง 5 ครั้ง สลับกับจับหงายแล้ว
กดหน้าอก 5 ครั้ง

3. ทำซ้ำจนได้ผลหรือจนหมดสติ
 

กรณีผู้สำลักหมดสติ

4. โทรศัพท์เรียกหน่วยพยาบาลฉุกเฉิน

5. ยกลิ้นและขากรรไกรล่างแล้วล้วงปาก
ด้วยนิ้ว (finger sweep) เอาสิ่งแปลกปลอมออกมา

6. เปิดทางเดินลมหายใจแล้วพยายามเป่าลมเข้าปอด ถ้ายังไม่สำเร็จให้จัดท่าเปิดทางเดินลมหายใจใหม่และ
พยายามเป่าอีกครั้ง

7. ถ้าเป่าลมเข้าปอดยังไม่ได้อีก ให้กดกระแทกที่ท้อง (abdominal thrust) 5 ครั้ง

8. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 5 ถึง 7 จนได้ผล
 

4.ลงมือช่วยผู้สำลักหมดสติทันทีโดยยังไม่ต้องเรียก
หน่วยพยาบาลฉุกเฉิน เว้นแต่ถ้ามีผู้ปฏิบัติการช่วยชีวิตคนที่ 2 ทำหน้าที่เรียกหน่วยพยาบาลฉุกเฉิน ขณะที่คนที่ 1
ลงมือช่วยไปก่อน

5. ยกลิ้นและกระดูกขากรรไกรล่างแล้วมองดู ถ้าเห็นสิ่งแปลกปลอมจึงค่อยล้วงปากด้วยนิ้ว
(finger sweep) เอาสิ่งแปลกปลอมออกมา

6. เปิดทางเดินลมหายใจแล้วพยายามเป่าลมเข้าปอด ถ้ายังไม่สำเร็จให้จัดท่าเปิดทางเดินลมหายใจใหม่และ
พยายามเป่าอีกครั้ง

7. ถ้าเป่าลมเข้าปอดยังไม่ได้อีก ให้กดกระแทกที่
ท้อง (abdominal thrust) 5 ครั้ง

8. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 5 ถึง 7 จนได้ผล

9. ถ้าช่วยเกิน 1 นาที แล้วยังไม่ได้ผลให้เรียกหน่วยพยาบาลฉุกเฉินทันที
 

4.ลงมือช่วยผู้สำลักหมดสติทันทีโดยยังไม่ต้องเรียก
หน่วยพยาบาลฉุกเฉิน เว้นแต่ถ้ามีผู้ปฏิบัติติการช่วย
ชีวิตคนที่ 2 ทำหน้าที่เรียกหน่วยพยาบาลฉุกเฉิน
ขณะที่คนที่ 1 ลงมือช่วยไปก่อน

5. ยกลิ้นและกระดูกขากรรไกรล่าง
แล้วมองดู ถ้าเห็นสิ่งแปลกปลอมจึงค่อย
ล้วงปากด้วยนิ้ว (finger sweep)
เอาสิ่งแปลกปลอมออกมา

6. เปิดทางเดินลมหายใจแล้วพยายามเป่าลม
เข้าปอด ถ้ายังไม่สำเร็จให้จัดท่าเปิดทางเดิน
ลมหายใจใหม่และพยายามเป่าอีกครั้ง

7. ถ้าเป่าลมเข้าปอดยังไม่ได้ให้จับคว่ำ
ตบหลัง 5 ครั้ง สลับกับจับนอนหงายแล้ว
กดหน้าอก 5 ครั้ง

8. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 5 ถึง 7 จนได้ผล

9. ถ้าช่วยเกิน 1 นาทีแล้วยังไม่ได้ผล ให้รีบเรียกหน่วยพยาบาลฉุกเฉินทันที
 




ความรู้สำหรับประชาชน

คนเรามีชีวิตอยู่ได้เพราะหัวใจเต้นและมีการหายใจ
สาเหตุที่ทำให้หยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น
คนที่หยุดการหายใจและหัวใจหยุดเต้นไปแล้ว ยังมีโอกาสฟื้นได้
ส่วนที่ 1. การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนทั่วไป
ส่วนที่ 2 ภาคผนวกสำหรับบุคลากรทางการแพทย์
เทคนิคการช่วยชีวิตเด็กทารก ในส่วนที่แตกต่างจากผู้ใหญ่
สรุปการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
การเผยแพร่ความรู่สู่ประชาชน
โรคหัวใจภัยแฝงที่แถมมากับเบาหวาน article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ซอยศูนย์วิจัย ถนน เพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ 10310
The Heart Association of Thailand under the Royal Patronage of H.M. The King 5th Floor Royal Golden Jubilee Building, 2 Soonvijai New Petchburi Road , Bangkok 10310 Thailand โทร./ Tel 02-718-0061 โทรสาร / Fax 02-718-0065 Email : thaiheart@thaiheart.org